หลักสูตรที่รับผิดชอบ |
โครงการบัณฑิตศึกษาของภาควิชาระบาดวิทยาร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังเปิดสอนในปัจจุบัน และทั้งที่จะเริ่มเปิดสอนมีทั้งหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ ดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการระบาด) รับนักศึกษาปีละ 3 - 5 คน
2.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาดทางการสาธารณสุข (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ) เป็นโครงการร่วมระหว่างภาควิชาระบาดวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา และภาควิชาปรสิตวิทยาและกีฎวิทยา ภาคปกติ รับนักศึกษาปีละ 8 - 10 คน ภาคพิเศษ รับประมาณปีละ 10-30 คน นอกจากนี้ภาควิชาระบาดวิทยายังรับผิดชอบกิจกรรมต่างๆ ของคณะ และบริการวิชาการ เช่น เป็นที่ปรึกษาคลินิกวิจัยให้กับหน่วยงานต่างๆการเรียนการสอนของภาควิชาฯ มุ่งเน้น Active Learning Process และ Problem-based Learning คือมุ่งเน้นการบูรณการระหว่างการเรียนการสอนปกติ กับการฝึกภาคสนามกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เป็นทั้งพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกจากการจัดการเรียนการสอนแล้ว ภาควิชาฯ ยังมีผลิตภัณฑ์การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขโดยลูกค้าของภาควิชาฯ คือ ผู้ให้ทุนวิจัย ทั้งองค์กรภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุข และเอกชน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม (Vision Mission and Core value) |
ภาควิชาระบาดวิทยากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของคณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยเผยแพร่ให้บุคลากร นักศึกษา รับทราบทั้งในรูปแบบของ website และเอกสารสิ่งพิมพ์ของภาควิชาฯ
วิสัยทัศน์ (Vision) |
เป็นศูนย์กลางการศึกษาและการวิจัยทางวิทยาการระบาดชั้นนำระดับสากล
พันธกิจ (Mission) |
1.. ผลิตบัณฑิตและนักวิจัยที่มีคุณภาพในระดับสากลควบคู่คุณธรรมและจรรยาวิชาชีพ
เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม
2. ส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาการระบาดเพื่อสร้างองค์ความรู้และขับเคลื่อนสังคม
3.พัฒนาและให้บริการวิชาการที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ตลอดจนเผยแพร่ผลงานวิชาการและวิจัยสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง
และประสานความร่วมมือในทางวิชาการแบบ
บูรณาการ
4. ศึกษาและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
ลักษณะขององค์กร |
ภาควิชาระบาดวิทยา ก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ แผนกวิชาโรคระบาดวิทยา ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ฉบับที่ 2) ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้ไว้ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2491 (พระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 61 เล่ม 65 วันที่ 19 ตุลาคม 2491) ปัจจุบันภาควิชาระบาดวิทยารับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และใช้กระบวนการด้านวิทยาการระบาดในการศึกษาวิจัยปัญหาสุขภาพต่างๆ สาเหตุที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ได้แก่ การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแก่บุคลากรด้านการแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และบุคคลทั่วไปที่สนใจ การให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภายนอกตลอดเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ภาควิชาระบาดวิทยา
มีหัวหน้าภาควิชาทั้งหมด จำนวน 12 ท่านตามวาระดังนี้ |
1. ศ.นพ.ประดิษฐ์ สิทธิไชย | ตุลาคม 2491 - กรกฎาคม 2515 |
2. ศ.นพ.สมชาย สุพันธุ์วณิช | กรกฎาคม 2515 - มีนาคม 2527 |
3. รศ. นพ.ประวิทย์ สุนทรสีมะ | มีนาคม 2527 - มีนาคม 2529 |
4. ศ.นพ.สมชาย สุพันธุ์วณิช | มีนาคม 2529 - มีนาคม 2537 |
5. รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ | มีนาคม 2538 - มีนาคม 2539 |
6. ผศ.ทพญ.ดร.ยุพิน ส่งไพศาล | กันยายน 2539 - กันยายน 2541 |
7. รศ.ดร.อมรรัตน์ โพธิพรรค | ตุลาคม 2541 - ตุลาคม 2547 |
8. รศ.ทพญ.กุลยา นาคสวัสดิ์ | พฤศจิกายน 2547 – กันยายน 2549 |
9. รศ.ดุสิต สุจิรารัตน์ | ตุลาคม 2549 – 15 มกราคม 2555 |
10. รศ.ดร.วิศิษฏ์ ฉวีพจน์กำจร | 16 มกราคม 2555- 15 มกราคม 2559 |
11. อ.ดร.กิติพงษ์ หาญเจริญ | 16 มกราคม 2559 - 30 กันยายน 2562 |
12. ผศ.ดร.สุคนธา ศิริ | 1 ตุลาคม 2562-ปัจจุบัน |